เมนู

นัญจายตนสัญญา ฯลฯ วิญญาณัญจายตนสัญญา ฯลฯ อากิญจัญญายตนสัญญา
ฯลฯ อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา เพราะละสุขเสียได้ เพราะ
อรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละอันได้ทำไว้แล้ว สั่งสมไว้แล้ว* ดังนี้.

ว่าด้วยปวัตติวิญญาณ 2 อย่าง


วิญญาณโดย ย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย บัณฑิตทราบวิญญาณนั้น
ตามที่พรรณนามาฉะนี้แล้ว บัดนี้พึงทราบปวัตติ (ความเป็นไป) ของวิญญาณ
นั้น ต่อไป.
จริงอยู่ วิญญาณทั้งหมดนี้แหละย่อมเป็นไป 2 อย่าง ด้วยอำนาจ
ปวัตติวิญญาณ และปฏิสนธิวิญญาณ ในวิญญาณทั้ง 2 นั้น ทวิปัญจวิญญาณ
(วิญญาณ 10 ดวง) มโนธาตุ 2 ดวง อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วย
โสมนัส 1 ดวง รวมเป็น 13 ดวงเหล่านี้ ย่อมเป็นไปในปวัตติกาลในปัญจ-
โวการภพเท่านั้น วิญญาณที่เหลือ 19 ดวง ย่อมเป็นไปในปวัตติกาลบ้าง ใน
ปฏิสนธิกาลบ้าง ตามควรในภพทั้ง 3. อย่างไร.

วิญญาณในปัญจโวการภพในปวัตติกาล 13 ดวง


วิญญาณ 5 มีจักขุวิญญาณเป็นต้น ที่เป็นกุศลวิบากก่อน สำหรับผู้เกิด
ด้วยกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบาก ผู้มีอินทรีย์ที่เข้าถึงความแก่รอบตามลำดับ
ปรารภอารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่น่าปรารถนาหรือไม่น่าปรารถนา ที่มาสู่คลองแห่ง
จักขุทวารเป็นต้น อาศัยประสาทมีจักษุเป็นต้น จึงให้สำเร็จทัสสนกิจ (การเห็น)
*ภิ. สํ เล่ม 34. 419/145

สวนกิจ (การได้ยิน) ฆายนกิจ (การได้กลิ่น) สายนกิจ (การลิ้มรส)
ผุสนกิจ (การสัมผัส) เป็นไป. วิญญาณ 5 ที่เป็นอกุศลวิบาก ก็เหมือนกัน.
ก็วิญญาณที่เป็นอกุศลวิบากเหล่านั้น มีรูปเป็นต้นเป็นอารมณ์เป็นอนิฏฐารมณ์
และเป็นอนิฏฐมัชฌัตตารมณ์เพียงอย่างเดียว. เนื้อความนี้เท่านั้นที่แปลกกัน
และวิญญาณ 10 แม้เหล่านี้มีทวารที่แน่นอย อารมณ์ที่แน่นอน วัตถุฐานะที่
แน่นอน และมีกิจที่แน่นอนเหมือนกัน.
ต่อจากนั้น มโนธาตุที่เป็นกุศลวิบากในลำดับแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น
ซึ่งเป็นกุศลวิบาก ปรารภอารมณ์แห่งจักขุวิญญาณเป็นต้นเหล่านั้นแหละ อาศัย
หทยวัตถุยังสัมปฏิจฉันนกิจ (หน้าที่รับอารมณ์) ให้สำเร็จเป็นไป. มโนธาตุ
ที่เป็นอกุศลวิบากในลำดับแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น ที่เป็นอกุศลวิบาก ก็เหมือน
กัน. ก็แต่ว่า มโนธาตุทั้ง 2 นี้ (คือที่เป็นกุศลวิบากและอกุศลวิบาก) มีทวาร
และอารมณ์ไม่แน่นอน มีวัตถุฐานะแน่นอน และมีกิจ (หน้าที่) แน่นอน.
ส่วนมโนวิญญาณธาตุที่เป็นอเหตุกะที่สหรคตด้วยโสมนัส ปรารภ
อารมณ์ของจักขุวิญญาณเป็นต้น เหล่านั้นแหละ ในลำดับแห่งมโนธาตุที่เป็น
กุศลวิบาก อาศัยหทัยวัตถุ ยังสันตีรณกิจให้สำเร็จ ตัดขาดวิถีด้วยภวังค์ใน
อารมณ์ที่มีกำลังในทวาร 6 ในที่สุดแห่งชวนะซึ่งสัมปยุตด้วยโลภะของสัตว์ใน
กามาพจร โดยมาก ย่อมเป็นไปครั้งหนึ่งบ้าง สองครั้งบ้าง ด้วยอำนาจ
ตทารัมมณะในอารัมณ์อันชวนะถือแล้ว. แต่ในการนับความเป็นไปของจิต ใน
ตทารัมมณะในทวารทั้งหมดมีวาระแห่งจิต 2 เท่านั้น มาแล้ว. ก็จิตนี้ได้ชื่อ 2
อย่าง คือ ตทารัมมณะและปิฏฐิภวังค์ (ภวังค์ดวงหลัง) มีทวารและอารมณ์
ไม่แน่นอน มีวัตถุแน่นอน มีฐานะและกิจไม่แน่นอน จิต 13 ดวง พึงทราบ
ว่า ย่อมเป็นไปในปัญจโวการภพ ในปวัตติกาล ด้วยประการฉะนี้ก่อน.

ว่าด้วยจิตไนปวัตติกาล และปฏิสนธิกาลใน 3 ภพ 19 ดวง


บรรดาจิต 19 ดวง ที่เหลือ จิตอะไร ๆ ย่อมไม่เป็นไปในปฏิสนธิ
ตามสมควรของคน ๆ หามิได้ แต่ในปวัตติกาล มโนวิญญาณธาตุที่เป็นอเหตุกะ
2 ดวง คือ เป็นกุศลวิบาก และอกุศลวิบาก ในเบื้องต้น ให้สำเร็จกิจ 4 อย่าง
คือ สันติรณกิจ ในลำดับแห่งมโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบากใน
ทวารห้า 1 ดวง เป็นตทารัมมณกิจ ในทวาร 6 โดยนัยที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น
นั่นแหละ 1 ดวง เป็นภวังคกิจ ในเมื่อพ้นไปจากปฏิสนธิอันตนให้แล้ว
ไม่มีจิตตุปบาทอันเข้าไปตัดเสียซึ่งภวังค์ 1 ดวง และจุติกิจในที่สุด 1 ดวง
มี (หทยะ) วัตถุแน่นอน มีทวาร อารมณ์ ฐานะและกิจไม่แน่นอนเป็นไป
สเหตุกจิตที่เป็นกามาพจร 8 ดวง ย่อมยังกิจ 3 อย่าง ให้สำเร็จ คือ
เป็นตทารัมมณกิจ ในทวารกาล 6 โดยนัยที่กล่าวไว้ในปวัตติกาล 1 ดวง
เป็นภวังคกิจ ในเมื่อพ้นไปจากปฏิสนธิกิจที่ตนให้แล้ว ไม่มีจิตตุปบาทที่เข้า
ไปตัดเสียซึ่งภวังค์ 1 ดวง จุติกิจในกาลเป็นที่สุด 1 ดวง มีวัตถุแน่นอน
มีทวาร อารมณ์ ฐานะและกิจไม่แน่นอนเป็นไป.
รูปาวจรวิบากจิต 5 ดวง และอรูปาวจรวิบากจิต 4 ดวง ย่อมยังกิจ
2 อย่างให้เป็นไป คือ เป็นภวังคกิจ ในเมื่อพ้นไปจากปฏิสนธิกิจอันตนให้
แล้ว ไม่มีจิตตุปบาทที่เข้าไปตัดเสีย ซึ่งภวังค์ 1 ดวง และจุติกิจในกาลเป็น
ที่สุด 1 ดวง. บรรดาวิบากจิต 9 ดวงเหล่านั้น รูปาวจรวิบากจิต มีวัตถุและ
อารมณ์แน่นอน มีฐานะและกิจไม่แน่นอน วิบากจิตนอกนี้ไม่มีวัตถุ (อรูป)
มีอารมณ์แน่นอน มีฐานะและกิจไม่แน่นอนเป็นไป.
วิญญาณ (เป็นวิบาก) แม้ 32 ย่อมเป็นไปเพราะสังขารเป็นปัจจัย
ในปวัตติกาล ด้วยประการฉะนี้ก่อน ในปวัตติกาลนั้น สังขารเหล่านั้น ๆ
ย่อมเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ 32 นั้น ด้วยกรรมปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย.